|
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นภาษีทางตรงซึ่งเรียกเก็บจากบริษัทฯ หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นในประเทศไทยหรือมีเงินได้จากหรือในประเทศไทย โดยคำนวณจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นใน 1 รอบระยะเวลาบัญชีที่มี 12 เดือน บริษัทฯ หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบกิจการในประเทศไทยมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิเฉพาะธุรกิจที่ประกอบการในประเทศไทย หรือได้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นที่กันไว้จากกำไร หรือถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย
วิธีการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
ประเทศไทยหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขในประมวลรัษฎากรโดยใช้เกณฑ์สิทธิ์ ซึ่งหมายถึงให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นและ ให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้นแม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของ รอบระยะ เวลาบัญชีนั้น
สำหรับบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ให้นำเงินปันผลที่ได้จากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กองทุนรวมหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อการส่งเสริม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม และเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้า มารวมคำนวณเป็นรายได้เพียง กึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้ เว้นแต่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และบริษัทจำกัด ซึ่งถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทจำกัด และผู้จ่ายเงินปันผลและบริษัทจำกัด ผู้จ่ายเงินปันผล ไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทจำกัด ผู้รับเงินปันผลไม่ว่าโดยตรงหรือโดยทางอ้อม
สินค้าคงเหลือบันทึกในราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ แล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า
รายจ่ายที่ให้หักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล |
• |
รายจ่ายที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการจัดหารายได้ของกิจการค่าจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี (หักได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง) ค่าอบรมสัมมนา (หักได้อีก 1.5 เท่าของที่จ่ายจริง) |
• |
ขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี |
• |
การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนด โดยกฎกระทรวง |
• |
ค่ารับรองส่วนที่ไม่เกินกว่าร้อยละ 0.3 ของรายได้ หรือ ทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระ แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า |
• |
ค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินที่ใช้งานได้เกินกว่า 1 ปี เช่นคอมพิวเตอร์คำนวณค่าเสื่อมราคา 3 ปี จนถึง 20 ปีสำหรับอาคาร |
• |
เงินบริจาคไม่เกินกว่าร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ |
• |
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพส่วนที่บริษัทจ่ายสมทบ |
อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีจากกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลร้อยละ 20 อย่างไรก็ตามอัตราภาษียังขึ้นอยู่กับประเภทของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังนี้ : |
• |
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30 ล้านบาท
- ได้รับยกเว้นภาษีสำหรับกำไรสุทธิไม่เกิน 300,000 บาท
- ภาษีร้อยละ 15 สำหรับกำไรสุทธิส่วนที่เกิน 300,000 แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท
- ภาษีร้อยละ 20 สำหรับกำไรสุทธิส่วนที่เกิน 3 ล้านบาท |
• |
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้วเกิน 5 ล้านบาท หรือมีรายได้ต่อปีเกิน 30 ล้านบาท เสียภาษีในอัตราร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ |
การยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้ประจำปี (แบบ ภงด.50) ภายใน 150 วันนับจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี และมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้ครึ่งปี (แบบ ภงด.51) ภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี
|
|
|
มาตรการบัญชีชุดเดียวและการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสาหรับ SMEs หลักการ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรม ราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระราชกาหนดการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2558 และพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรา และยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 595) พ.ศ. 2558 โดยเนื้อหาตามพระราชกาหนดฯ และพระราชกฤษฎีกาฯ มีสาระสาคัญ สรุปได้ดังนี้ |
• |
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดในหรือก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ไม่เกิน 500 ล้านบาท และจดแจ้งการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพ ที่แท้จริงของกิจการ (บัญชีชุดเดียว) ต่อกรมสรรพากร จะได้รับการยกเว้นจากการตรวจสอบภาษีอากรย้อนหลัง ทั้งนี้ กรมสรรพากรจะเปิดให้มีการจดแจ้งการใช้บัญชีชุดเดียวผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของ กรมสรรพากร http://www.rd.go.th ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึง 15 มีนาคม พ.ศ. 2559 |
• |
กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดอยู่ระหว่างถูกการตรวจสอบภาษีอากร เป็นผู้ออก ใบกำกับภาษีปลอม หลีกเลี่ยงภาษีอากร หรืออยู่ในระหว่างการดำเนินคดีก่อนวันที่ 1 มกราคม 2559 บริษัทฯ ยังคงสามารถจดแจ้งการใช้บัญชีชุดเดียวต่อกรมสรรพากรได้ โดยกรมสรรพากรจะดำเนินการเฉพาะกรณีนั้นๆ ต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ |
• |
สำหรับกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ต้องไม่มีรอบระยะเวลาบัญชีใดที่มีทุนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีเกิน 5 ล้านบาท และมี รายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีเกิน 30 ล้านบาท และได้มีการจดแจ้งต่อ กรมสรรพากรในการใช้บัญชีชุดเดียว จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 2 รอบระยะเวลาบัญชีดังนี้
– ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสาหรับกาไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี2559
- ยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 ดังนี้
(1) สำหรับกำไรสุทธิส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และ
(2) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เหลือร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิสำหรับกำไรสุทธิ ส่วนที่เกิน 300,000 บาท
กำไรสุทธิ |
อัตราภาษี |
รอบระยะเวลาบัญชี 2559 |
รอบระยะเวลาบัญชี 2560 |
0 - 3 แสนบาท |
ยกเว้น |
ยกเว้น |
3 แสนบาทขึ้นไป |
10% |
|
• |
กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะถูกเพิกถอนจากการยกเว้นการตรวจสอบภาษีอากรย้อนหลัง และให้ถือว่าบริษัทฯ นั้น ไม่เคยได้รับสิทธิใดๆ ตามพระราชกำหนดฉบับนี้ |
|
|