|
ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินจากการได้รับบริการมีหน้าที่หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายไว้ทุกครั้งที่จ่ายเงินได้นั้น ภาษีดังกล่าวเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกหักไว้ล่วงหน้า
วีธีการของภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย |
• |
เมื่อท่านได้ให้และเรียกเก็บค่าบริการจากลูกค้า ลูกค้ามีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 2, 3 หรือ 5ขึ้นอยู่กับประเภทของค่าบริการที่เรียกเก็บโดยไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มโดยลูกค้าจะออกใบรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายให้เป็นหลักฐาน ใบรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายเหล่านี้สามารถนำไปหักออกจากภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชำระตอนสิ้นปีได้ |
• |
หรือเมื่อท่านได้รับและถูกเรียกเก็บค่าบริการจากเจ้าหนี้ ท่านมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 2, 3 หรือ 5ขึ้นอยู่กับประเภทของค่าบริการที่ถูกเรียกเก็บโดยไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยท่านจะออกใบรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับเจ้าหนี้เป็นหลักฐาน และยื่นแบบแสดงรายการ (ภงด.3, 53) ภายใน 7 วันนับจากวันสิ้นเดือนของการเรียกเก็บค่าบริการนั้น ๆ |
อัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย |
• |
การให้บริการและค่าจ้างทำของ:
- ร้อยละ 3 สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือต่างประเทศ ประกอบกิจการในประเทศไทย โดยมีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย
- ร้อยละ 5 สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศโดยประกอบกิจการในประเทศไทย โดยมิได้มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย |
• |
ร้อยละ 2 สำหรับค่าโฆษณา |
• |
ร้อยละ 10 สำหรับเงินปันผล |
• |
ดอกเบี้ย:
- ร้อยละ 10 สำหรับมูลนิธิหรือสมาคม
- ร้อยละ 1 สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทยนอกจากที่ระบุไว้ข้างต้น |
• |
ค่าแห่งลิขสิทธิ์:
- ร้อยละ10 สำหรับมูลนิธิหรือสมาคม
- ร้อยละ3สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทยนอกจากที่ระบุไว้ข้างต้น |
|
|