|
ภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)
ภาษีมูลค่าเพิ่มได้นำมาใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ปี พศ.2535 แทนที่ภาษีการค้า ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีทางอ้อมโดยเรียกเก็บจากการผลิต การขายสินค้าและการให้บริการซึ่งเป็นส่วนเพิ่มระหว่างยอดขายกับยอดซื้อ
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในประเทศที่มีรายรับมากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีมีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีบางกรณีที่ผู้ประกอบการมีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทแต่ได้รับยกเว้นไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย: |
• |
ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน |
• |
ผู้ประกอบกิจการจำหน่าย หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน |
• |
การให้บริการเช่น :
- การให้บริการขนส่งสาธารณะ
- การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลทางราชการและเอกชน
- การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
- การให้บริการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ
- การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ |
• |
การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่นห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ |
• |
การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงานการให้บริการของนักแสดงสาธารณะการให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ซึ่งต้องมีลักษณะการประกอบกิจการตามที่กรมสรรพากรกำหนด |
ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม |
• |
สินค้าและบริการที่นำเข้ามาในประเทศ:
ได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้า / ให้บริการ รวมทั้งภาษีสรรพสามิต แต่ไม่รวมถึง 1)ส่วนลดหรือค่าลดหย่อน ที่ลดให้ทันทีในขณะขายสินค้า และต้องระบุส่วนลดไว้ในใบกำกับภาษี 2) ค่าชดเชยและเงินอุดหนุนตามที่อธิบดีกำหนด 3 ) ภาษีขาย และ 4) ประกาศอธิบดีฯเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 40 (ทั้งนี้มูลค่าของฐานภาษีให้หมายความรวมถึง เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือประโยชน์ซึ่งอาจคำนวณได้เป็นตัวเงิน) |
• |
การนำเข้าสินค้า:
ฐานภาษีสำหรับการนำเข้า ให้ใช้ราคา C.I.F. + ภาษีสรรพสามิต + อากรขาเข้า ราคา C.I.F. คือ ราคารวมประกันภัย + ค่าระวาง (ขนส่ง) ซึ่งอาจถือตามราคาที่กรมศุลกากรกำหนด |
• |
การส่งออกสินค้า:
ฐานภาษีสำหรับการส่งออก ให้ใช้ราคา F.O.B + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีอื่น ๆ + ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ แต่ไม่รวมอากรขาออก
ราคา F.O.B. คือ ราคา ณ ด่านศุลกากร ไม่รวมค่าขนส่ง และประกันภัย |
อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
ปัจจุบันอยู่ที่อัตราร้อยละ 7.0
อัตราร้อยละ 0 ใช้กับสินค้าและบริการดังนี้ : |
• |
การส่งออก |
• |
การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักร และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ. การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยาน หรือเรือเดินทะเลที่กระทำโดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล |
• |
การขายสินค้าหรือการให้บริการกับกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี |
• |
การขายสินค้าหรือ การให้บริการกับองค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล ทั้งนี้ เฉพาะการขายสินค้าหรือการให้บริการที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด |
• |
การขายสินค้าหรือการให้บริการระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับคลังสินค้าทัณฑ์บนหรือระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการ อยู่ในเขตปลอดอากรไม่ว่าจะอยู่ในเขตเดียวกันหรือไม่ หรือระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากร ทั้งนี้ เฉพาะการขายสินค้าหรือการให้บริการที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด |
วิธีการทางบัญชีสำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้เกณฑ์เงินสดหรือเกณฑ์สิทธิในการบันทึกบัญชีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งแล้ว: |
• |
เกณฑ์เงินสด ; ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายมีภาระต้องชำระเมื่อได้รับเงินจากการขายโดยหักออกจากภาษีซื้อเมื่อได้จ่ายชำระไป วิธีนี้มักใช้กับกิจการที่ให้บริการ เช่น ร้านอาหาร หรือ ภัตตาคาร ฯลฯ |
• |
เกณฑ์สิทธิ ; ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายมีภาระต้องชำระเมื่อได้ออกใบกำกับภาษีโดยหักออกจากภาษีซื้อเมื่อได้รับใบกำกับภาษีซื้อเช่นกัน |
หลักเกณฑ์ของกรมสรรพากรกล่าวไว้ว่าการขายสินค้าและให้บริการที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ :
• เมื่อได้รับสินค้า/หรือบริการแล้ว
• เมื่อได้โอนสิทธิครอบครองในสินค้านั้นแล้ว
• เมื่อได้ชำระค่าสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว
• เมื่อได้ออกใบกำกับภาษีแล้ว
ใบกำกับภาษี
ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยทั่วไป มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ซึ่งใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปจะต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ |
• |
คำว่า "ใบกำกับภาษี" หรือ “ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้” ในบริเวณที่เห็นเด่นชัด |
• |
ในกรณีที่ออกใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ ให้อ้างถึงเลขที่ของใบกำกับภาษีทุกครั้งและอธิบายถึงสาเหตุที่ต้องออก |
• |
ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ |
• |
ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ |
• |
หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีและหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี) |
• |
ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณและมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ |
• |
จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการให้ชัดแจ้ง |
• |
วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี |
การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ประกอบมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือนโดยใช้แบบฟอร์ม (ภ.พ. 30) ต่อกรมสรรพากรภายใน 15 วันนับจากวันสิ้นเดือน ถ้าผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการหลายแห่ง การยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษี ให้แยกยื่นและชำระเป็นรายสถานประกอบการ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะยื่นคำร้องต่ออธิบดี ขออนุมัติยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีรวมกัน ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่แห่งใดแห่งหนึ่ง กรณีการให้บริการที่กระทำนอกราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในประเทศผู้ประกอบการต้องยื่นแบบฟอร์ม (ภ.พ. 36) และชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแทน
การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในกรณีที่มีเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนภาษี (ภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย) ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิขอคืนเป็นเงินสดหรือนำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนถัดไปได้ ใบกำกับภาษีซื้อสามารถนำมาใช้หักภาษีขายได้ภายใน 6 เดือน อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนภาษีภายในสามปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีสำหรับเดือนภาษีนั้นในบางกรณีภาษีซื้อไม่สามารถนำมาขอคืนได้เช่นค่ารับรอง แต่สามารถนำภาษีซื้อมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
|
|